ทักษะการฟัง คุณสมบัติที่ผู้ประกอบการควรมี

Active Listening เทคนิคฝึก Mindset ผู้ประกอบการสู่ความสำเร็จ

“การฟัง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจได้อย่างรอบด้าน อย่างไรก็ดี เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจเข้าใจว่า การฟังนั้นเป็นเพียงสกิลง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะมีสักกี่ครั้งกันแน่ที่เราสามารถตั้งใจฟังใครได้ โดยไม่มีอคติเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่คิดแทนใคร จนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ ยอมรับในตัวผู้พูด และนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดได้จริง

หากใครรู้ตัวและยอมรับว่า ที่ผ่านมาอาจจะยังฟังคนอื่นได้ไม่มีประสิทธิภาพพอ วันนี้ลองมาฝึกสกิลการฟังอย่าง Active Listening ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้าง Mindset และความรู้ใหม่ ๆ ให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพกัน

เข้าใจ Active Listening กันก่อน!

การสร้าง Mindset ผู้ประกอบการที่สามารถพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้ เริ่มต้นจากการฝึกสกิลการฟังอย่าง Active Listening หรือที่หลายคนอาจรู้จักในชื่อภาษาไทยอย่าง “การฟังเชิงรุก” ซึ่งในจุดนี้ เจ้าของธุรกิจหลายคนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า การฟังเชิงรุกนี้จะแตกต่างจากการฟังปกติในแง่มุมไหน และช่วยพัฒนา Mindset ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างไร

คำตอบ คือ Active Listening นี้จะเป็นทักษะการฟังทุกข้อมูลจากผู้พูดอย่างตั้งใจ ไม่ใช้ประสบการณ์ ความรู้สึก หรืออคติส่วนตัวไปตัดสินผู้พูดก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือพูดง่าย ๆ คือ การมี Empathy กับผู้ฟังให้มากที่สุด จากนั้นจึงค่อย ๆ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อจับประเด็น และพิจารณาความถูกต้อง สุดท้ายจึงนำชุดข้อมูลที่ได้รับมานี้ไปปรับใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ต่อไป

จะเห็นได้ว่า สกิลอย่าง Active Listening ถือเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ผู้ประกอบการทุกคนควรมี เพื่อนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้อย่างที่ตั้งใจ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการฟังเพื่อพัฒนาต่อยอดเท่านั้น แต่การฟังอย่าง Active Listening ยังช่วยให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจพนักงาน รวมถึงเพื่อนร่วมงานทุกระดับ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในส่วนต่าง ๆ และทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปอย่างราบรื่นอีกด้วย

ส่วนประกอบของ Active Listening

การจะบรรลุไปสู่การฟังแบบ Active Listening ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ก่อนที่จะเริ่มฟังข้อมูลใด ๆ ทุกครั้ง ขอแนะนำให้เตรียมตัวให้พร้อม โดยทำความเข้าใจ 3 ส่วนประกอบสำคัญของ Active Listening ดังนี้

  1. Attitude (ทัศนคติ) หรือการเปิดใจฟังโดยปราศจากอคติ ไม่ใช้ความคิดของตัวเองเป็นใหญ่
  2. Attention (ความสนใจ) หรือการตั้งใจฟังทุกข้อมูลของผู้พูดให้จบก่อนตัดสินใด ๆ
  3. Adjustment (การปรับตัว) หรือการไตร่ตรองข้อมูลให้รอบด้านเพื่อสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วน ก่อนตัดสินใจจะแสดงความคิดเห็น หรือกระทำการใด ๆ ต่อไป

ตัวอย่างสถานการณ์เพื่อความเข้าใจ!

ถ้ายังนึกภาพไม่ออกว่า Active Listening ที่มีประสิทธิภาพตามส่วนประกอบทั้ง 3 นี้จะมีลักษณะอย่างไร ลองนึกถึงสถานการณ์ใกล้ตัวอย่าง “การมีคนมาปรับทุกข์ให้ฟัง” ดู

หากเราเป็นคนที่ฟังเรื่องทุกข์ร้อนของคนอื่น แล้วมักนำเสนอวิธีแก้ปัญหาในแบบของตัวเอง หรือใช้ความคิดตัวเองตัดสินในสถานการณ์ หรือความรู้สึกของคนอื่น แสดงว่าตอนนี้เรากำลังมี Sympathy ให้แก่ผู้พูดแทนที่จะเป็น Empathy และทำให้สกิล Active Listening นั้นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากเรากำลังตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ จากประสบการณ์ ความรู้สึก รวมไปถึงความคาดหวังของตัวเราเอง

ในทางตรงกันข้าม หากเราสามารถฟังเรื่องราวทุกข์ร้อนของคนอื่นตั้งแต่ต้นจนจบ โดยยังไม่ตัดสิน มอบคำแนะนำ หรือวิธีแก้ปัญหาในแบบของเราให้แก่ผู้ฟังในทันที แต่จะเป็นการค่อย ๆ ฟังข้อมูลเพื่อคิดวิเคราะห์ และทำความเข้าใจสถานการณ์ของผู้ฟังให้มากขึ้น เพียงเท่านี้เราก็สามารถสร้าง Empathy ให้ผู้พูด ทั้งยังฝึกสร้างสกิล Active Listening เพื่อนำไปสู่การเข้าใจข้อมูลที่ครบถ้วนอีกด้วย

Mindset ผู้ประกอบการสู่ความสำเร็จ

เคล็ดลับฝึก Active Listening ที่เจ้าของธุรกิจห้ามพลาด!

หากพอเริ่มเห็นภาพและความสำคัญของ Active Listening แล้ว ใครอยากสร้างแนวคิด หรือ Mindset ผู้ประกอบการสู่ความสำเร็จโดยมีพื้นฐานมาจากทักษะการฟังแล้ว ลองมาเริ่มต้นฝึก Active Listening จาก 4 เคล็ดลับง่าย ๆ ที่นำมาฝาก ดังนี้

1. หาโอกาสให้ได้ฝึกฟังบ่อย ๆ

เช่น เข้าร่วมงานสัมมนาที่น่าสนใจเพื่อพัฒนาความรู้ตัวเองต่อไป หรืออาจจัดประชุมเพื่อให้พนักงานทุกคนได้พูดคุยถึงความรู้สึก ปัญหา และความประทับใจในการทำงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในแง่มุมธุรกิจของตัวเองมากขึ้น

2. ฝึกฟังไม่ได้แปลว่าให้นั่งเงียบตลอด

ในขณะที่ฟังอยู่ ทุกคนสามารถสื่อสารกับผู้พูดได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการพยักหน้า หรือภาษากายที่แสดงถึงความห่วงใย เช่น การมองตา การกอด รวมไปถึงการนำมือไปสัมผัสบนบ่า

3. จดบันทึกเพื่อสร้างความเข้าใจ

แม้การฟังจะสร้างความเข้าใจและองค์ความรู้ได้มากมาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลายคนก็อาจหลงลืมความเข้าใจที่ได้รับจากการฟังได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทบทวนในภายหลัง ตลอดจนเพื่อเสริมความเข้าใจให้มากขึ้น อย่าลืมจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังด้วย แต่อย่าลืมถามผู้พูดทุกครั้งก่อนทำการจดบันทึก เนื่องจากอาจทำให้รู้สึกอึดอัดได้โดยไม่ได้ตั้งใจ

4. เลือกจังหวะตอบกลับให้เหมาะสม

การฝึกฟังไม่ได้หมายถึงการนั่งเงียบเพียงอย่างเดียว หากมีข้อมูลส่วนไหนไม่เข้าใจ หรือต้องการแสดงความคิดเห็นส่วนใด ทุกคนก็สามารถเลือกช่วงเวลาและจังหวะในการตอบกลับที่เหมาะสมได้เช่นกัน เช่น อาจเลือกสอบถามข้อสงสัยหลังจากที่ได้เรียนรู้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว หรือแสดงความคิดเห็นในจังหวะที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ เป็นต้น

เป็นอย่างไรกันบ้างกับสกิลที่ช่วยสร้าง Mindset ผู้ประกอบการอย่าง Active Listening อย่างไรก็ดี ทักษะการฟังนี้เป็นเพียงหนึ่งในคุณสมบัติที่ผู้ประกอบการควรมีเป็นพื้นฐาน แต่การจะพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ยังต้องอาศัยอีกหลายปัจจัยเช่นกัน เรียนรู้ทุกเทคนิคการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จแบบครบจบที่เดียวได้แล้วที่ The iCon Academy สถาบันที่จะช่วยให้ทุกคนพัฒนาตัวเองสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจมืออาชีพ สอนทุกเคล็ดลับเพื่อธุรกิจที่สำเร็จโดยนักธุรกิจตัวจริงที่มีประสบการณ์ในสนามการค้ามาอย่างยาวนาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02 105 6789

Pelicula

A modern theme for the film industry & video production
This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.